วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่



กิจกรรมกีฬาสี ( Sport Day)

         กิจกรรมกีฬาสีของโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เล่นกีฬา ได้กล้าแสดงออกในด้านต่างๆ ได้รู้จักรักและสามัคคีกัน และนักเรียนทุกคนจะได้รู้จักกับคำว่า "รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย" โรงเรียนของเรามีทั้งหมด 3 สี คือ สีม่วง (แม้นนฤมิตร) สีแดง (ภานุรังษี) และ สีน้ำเงิน (เยาวมาลย์อุทิศ) ซึ่งแต่ละปีก็จะจัดทั้งหมด 5 วัน ใน 4 วันแรกจะเป็นการแข่งกีฬาต่างๆ เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ เป็นต้น และวันสุดท้ายก็จะเป็นการแข่งเชียร์ของแต่ละสี ทุกสีก็จะแต่งตัวกันมาแบบจัดเต็ม และก็จะเป็นการแข่งกีฬาชนิดสุดท้าย คือ กรีฑา 





กระต่าย


       

          กระต่าย จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae
           กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง
            กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก มีขนปุกปุยทั่วลำตัว มีหางกลมสั้น มีใบหูยาวเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ซึ่งวิวัฒนาการมาใช้สำหรับฟังเสียงได้เป็นอย่างดี และยังมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก กระต่ายมีขาหน้าที่มี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว มีสะโพกที่ยาวและทรงพลัง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ จึงสามารถกระโดดได้เป็นอย่างดี ใต้ฝ่าเท้ามีขนนุ่ม ๆ รองรับอยู่ เพื่อมิให้เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว เป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่ายและมีความว่องไวปราดเปรียวมากในการระแวดระวังภัย
          กระต่ายเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น ต่างจากสัตว์ฟันแทะที่กินได้ทั้งเนื้อและพืช อาหารของกระต่ายได้แก่ หญ้าและพืชผักชนิดต่าง ๆ อายุขัยโดยเฉลี่ยของกระต่ายจะอยู่ที่ 2-3 ปี นับเป็นสัตว์ที่สืบพันธุ์เร็วมาก โดยปีหนึ่ง ๆ กระต่ายสามารถออกลูกได้ถึง 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 ตัว กระต่ายในธรรมชาติ มักอาศัยอยู่ในที่ราบโล่งที่เป็นทุ่งหญ้ามากกว่าป่าทึบ โดยขุดโพรงใต้ดินเป็นรังและที่อยู่อาศัย ลูกกระต่ายป่าในธรรมชาติ เมื่อแรกเกิดจะลืมตา และในวันรุ่งขึ้นก็สามารถวิ่งและกระโดดได้เลย เมื่อกระต่ายตัวเมียจะคลอดลูก จะแยกออกจากรังเดิมไปขุดรังใหม่ เพื่อป้องกันลูกอ่อนจากกระต่ายตัวผู้ ซึ่งอาจฆ่าลูกกระต่ายเกิดใหม่ได้ โดยจะกัดขนตัวเองเพื่อปูรองรับลูกใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา




สุนัข

        สุนัข หรือ หมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของสุนัขตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น สุนัขที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) สุนัขที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์, โกลเด้น, ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน
      สุนัขพัฒนามาจากสัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ ดังนั้นวิวัฒนาการของฟันสำหรับเคี้ยวเนื้อและกระดูกจึงยังคงมีอยู่ รวมทั้งการมีประสาทดมกลิ่นและตามล่าเหยื่อที่ดีมาก นอกจากนี้สุนัขยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้วิ่งได้เร็วและเร่งความเร็วได้เท่าที่ต้องการ ลักษณะการเดินของสุนัขจะทิ้งน้ำหนักตัวบนนิ้วเท้า ซึ่งส่งผลให้สุนัขเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้สุนัขยังมีสัญชาตญาณในการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นสุนัขจึงสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ความรู้สึกและสัญชาตญาณ 
          สุนัขแต่ละตัวและแต่ละสายพันธุ์ มีสัญชาตญาณของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลง จากสุนัขป่ามาเป็นสุนัขเลี้ยง ได้มีการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์สุนัขสืบทอดกันมามากกว่า 4,000 ชั่วอายุ ทำให้ลักษณะร่างกายของสุนัขหลายสายพันธุ์ เปลี่ยนแปลงไปจากบรรพบุรุษของพวกมันอย่างมาก แต่สุนัขแต่ละสายพันธุ์ยังคงรักษาลักษณะพฤติกรรมของสุนัขป่าที่มันเคยเป็นไว้ได้ไม่มากก็น้อย ทั้งสุนัขป่าและสุนัขเลี้ยงมีวิธีสื่อสารโดยการเห่า การใช้ภาษากาย และสัญชาตญาณในการรวมกลุ่ม

การมองเห็นของสุนัข
           เรายังสรุปไม่ได้ว่าสมองของสุนัขจะแปลความหมายสิ่งที่มองเห็นว่าเป็นอย่างไร ต้องมีการศึกษาเรื่องนี้โดยนักพฤติกรรมสุนัข มีงานวิจัยที่น่าสนใจทำการศึกษาโดย Neitz, Geist and Jacobs ใช้วิธีการนำแผนสี่เหลี่ยมที่มี 3 สี วางไว้หน้าสุนัข ฝึกให้สุนัขหยิบสีที่แตกต่าง เพื่อผู้วิจัยจะได้เดาได้ว่าสีอะไรที่สุนัขมองเห็น คำถามก็คือสุนัขหยิบแผ่นสีจากความแตกต่างของสี ไม่ใช่ความแตกต่างของแสง จากการศึกษานี้ได้กล่าวว่า สุนัขมองเห็นได้คล้ายคนตาบอดสี ซึ่งไม่สามารถแยกสีแดงและสีเขียวออกจากกันได้ นอกจากนั้นโลกของสุนัขจะประกอบด้วยสี เหลือง น้ำเงิน และเทา โดยเมื่อคนเราเห็นสีแดงสุนัขจะเห็นเป็นสีเหลือง เราเห็นสีเขียวสุนัขจะเห็นสีขาวออกเทาๆ บริเวณสีขาวซึ่งเรียกว่า จุดไม่มีสี เกิดขึ้นที่บริเวณ 480 nm ของแถบสีที่มองเห็น (visual spectrum) ตามปกติที่จุด 480 nm จะปรากฏอยู่ในช่วงน้ำเงินแกมเขียว ทุกความยาวคลื่นแสงที่ยาวกว่าจุดไม่มีสีสุนัขจะไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ และจะมองเห็นเป็นสีเหลือง